การจัดแบ่งสินค้าหรือวัตถุอันตรายตามหลักการสากลที่ต้องมีการขนส่งข้ามประเทศ

on Thursday, March 5, 2009


เพิ่งอ่านเกี่ยวกับ เรืองนี้จบ จึงรีบมาสรุปก่อนเด๋ว จะจำไม่ได้ค่า

วัตถุอันตรายตามหลักการสากลที่ต้องมีการขนส่งข้ามประเทศ

องค์การขนส่งทางเรือระหว่างประเทศได้แบ่งสินค้าหรือวัตถุอันตรายออกเป็น 9 กลุ่ม เพื่อให้ง่ายและสะดวกต่อการจัดกลุ่มในการจัดขนส่งในตู้ขนสินค้าหรือเรือ ซี่งสามารถแบ่งสินค้าอันตรายแบ่งออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่

ประเภทที่ 1 วัตถุระเบิด (Explosive) จำแนกออกเป็น 6 ชนิด ดังนี้
1.สารหรือสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิดอย่างรุนแรง
2. สารหรือสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตราย โดยการกระจายของสะเก็ดเมื่อเดการระเบิด แต่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิดอย่างรุนแรง
3. สารหรือสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายจากเพลิงไหม้ ตามด้วยการระเบิดหรืออันตรายจากการกระจายของสะเก็ดบ้าง หรือเกิดอันตรายทั้งสองอย่าง แต่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายจากระเบิดอย่างรุนแรง
4. สารหรือสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายมากนัก ผลของการระเบิดจำกัดอยู่ในเฉพาะหีบห่อ ไม่มีการกระจายของสเก็ดระเบิด
5. สารที่ไม่ไวต่อการระเบิด แต่ถ้าเกิดการรเบิด จะก่อให้เกิดอันตรายเช่นเดียวกับสารในข้อที่ 1
6. สารที่ไม่วองไว หรือเฉื่อยมากต่อการระเบิด ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตรายรุนแรงจากการระเบิด
ประเภทที่ 2 ก๊าซ (Gas) จำแนกออกเป็น 4 ชนิด ดังนี้
1.ก๊าซไวไฟ (Flammable gas)
2.ก๊าซไม่ไวไฟไม่เป็นพิษและไม่กัดกร่อน (Non Flammable, Non Poisonous, Non Corrosive gas)
3.ก๊าซพิษ (Poisonous gas)
4. ก๊าซกัดกร่อน (Corrosive gas)
ประเภทที่ 3 ของเหลวไวไฟ (Fammable Liquid)
1.ของเหลวที่มีจุดวาบไฟน้อยกว่า -18 องศาเซลเซียส
2.ของเหลวที่มีจุดวาบไฟระหว่าง -18 ถึง 23 องศาเซลเซียส
3.ของเหลวที่มีจุดวาบไฟระหว่าง 23 ถึง 61 องศาเซลเซียส
ประเภทท่ 4 ของแข็งไวไฟ (Flammable Solid) เป็นสารที่ก่อให้เกิดการลุกไหม้ได้เอง สารซึ่งเมื่อสัมผัสกับน้ำแล้วก่อให้เกิดการติดไฟ
1.ของแข็งที่ขนส่งในสภาวะผิดปกติ เกิดติดไฟและลุกไหม้อย่างรุนแรง ที่มีสาเหตุจากการเสียดสี หรือจากความร้อนที่เหลือจากกระบวนการผลิต หรือจากปฏิกิริยาของสารเอง
2. สารที่ลุกติดไฟได้เองภายใต้การขนส่งในภาวะปกติ หรือเมื่อสัมผัสอากาศแล้วเกิดความร้อนจนถึงจุดติดไฟ
3. สารที่สัมผัสกับน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟ หรือเกิดการลุกไหม้ได้เอง เมื่อเกิดการสัมผัสกับน้ำหรือไอน้ำ

ประเภทที่ 5 สารออกซิไดส์ และสารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ (Oxidizing Substance and Organic Peroxide)
1.สารที่ทำให้หรือช่วยให้สารอื่นติดไฟได้โดยการให้ออกซิเจน หรือออกซิไดส์อื่น ซึ่งตัวมันจะติดไฟหรือไม่ก็ตาม
2.สารประกอบอินทรีย์ที่มีโครงสร้าง –O-O- ที่เป็นสารออกซิไดส์ที่รุนแรง และสามารถระเบิดสลายตัว หรือไวต่อความร้อน การกระทบกระเทือน หรือเสียดสี
ประเภทที่ 6 สารเป็นพิษและสารติดเชื้อโรค (Poisonous Substance and Infectious Substance)
1.ของแข็งหรือของเหล็วที่เป็นพิษ เมื่อหายใจเข้าสู่ร่างกาย รับประทานหรือสัมผัสผิวหนัง
2. จุลินทรีย์ที่อาจก่อให้เกิดโรต แก่มนุษย์และสัตว์
ประเภทที่ 7 สารกัมมันตรังสี (Radioactive Material) สารกัมมันตรังสีซึ่งให้รังสีมากกว่า 74 กิโลเบคเคอเรล/กิโลกรัม (kBq/kg)
ประเภทที่ 8 สารกัดกร่อน (Corrosive substance) สารที่เป็นสาเหตุในการทำลายผิวหนัง หรือกัดกร่อนเหล็กหรืออะลูมิเนียมที่ไม่ได้มีการเคลือบผิว
ประเภทที่ 9 สารที่วัตถุอื่นที่อาจเป็นอันตรายได้ (Miscellaneous product or substance) 1.สารที่เป็นอันตราย ซึ่งยังไม่ได้จัดอยู่ในประเภทใดใน 8 ประภทข้างต้น แต่สามารถก่อให้เกิดอันตรายได้
2. สารที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสภาวะแวดล้อม
3. ของเสียอันตราย

0 comments:

Post a Comment